Robot framework เป็นซอฟแวร์ Open source สำหรับการทำ Acceptance Testing และ ATDD (Acceptance Test-Driven Development) โดย syntax ที่ใช้จะเหมือนกับภาษาเขียนธรรมดาเลยแหล่มมาก แต่ที่สำคัญหน่อยก็คงจะเป็นแต่ละคำสั่งหรือคีย์เวิร์ดจะต้องห่างกัน 4 space
มาดูวิธีการติดตั้งก่อนดีกว่า สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนติดตั้ง ก็จะมี Python นะครับ จากนั้นการติดตั้งเราจะจะติดตั้งผ่าน Package Management ของ Python ที่ชื่อว่า easy_install และมี Selenium2Library
easy_install robotframework
พอติดตั้งเสร็จก็ลองรันคำสั่งดูซักหน่อย ว่าเรียบร้อยดีรึป่าว
pybot --version
ผลลัพธ์ควรจะเป็นแบบนี้ครับ ตอนที่เขียนบทความนี้ robotframework จะเป็นเวอร์ชั่น 2.8.4 ครับ
ต่อไปก็ติดตั้ง Selenium2Library ครับ
easy_install robotframework-selenium2library
เตรียมพร้อมแล้วก็มาลองใช้ robotframework แบบง่ายๆ กันดู เอาเป็นค้นหา robot framework ด้วย Google ก็แล้วกัน สร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาชื่อ google_search.txt ครับ
*** Setting *** Library Selenium2Library *** Test Case *** Search Robot Framework With Google Open Browser http://www.google.co.th Firefox Input Text q robot framework Submit Form
เพื่อนๆ จะเห็นว่า syntax นี่เข้าใจง่ายมากๆ (รึป่าว ^^) อธิบายซักหน่อยดีกว่า จากตัวอย่างจะแบ่งออกเป็นสองส่วนนะครับ ส่วนที่เป็น *** Setting *** และ *** Test Case *** นะครับ
*** Setting *** จะทำการ import Selenium2Library เข้ามา (Library Selenium2Library)
*** Test Case *** เราจะมี test case อะไรบ้าง ตัวอย่างจะเป็น ค้นหา robot framework ด้วย Google.co.th ครับ
Open Browser เป็นคำสั่งให้เปิด browser ขึ้นมาด้วย URL http://www.google.co.th และ browser ที่ใช้เป็น Firefox
Input Text ให้กรอกคำค้นหา “robot framework” ไปที่ input ชื่อ q (name=”q”)
Submit Form เป็นการ submit form ถ้าไม่ระบุไอดีหรือชื่อจะ submit form แรกที่เจอใน document
พอสร้างไฟล์เทสเสร็จก็ลองสั่งให้ robotframework เทสไฟล์เราซักหน่อยด้วยคำสั่ง pybot ครับ
pybot google_search.txt
ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะประมาณนี้ครับ
หรือถ้าไม่อยากดูผ่าน command ก็สามารถเปิดดูผลผ่าน browser ก็ได้นะครับ เพื่อนๆ จะสังเกตเห็นไฟล์ report.html ครับ
เป็นการใช้งาน robotframework เบื้องต้นครับ ถ้าเพื่อนๆ อยากต่อยอดสามารถเข้าไปดูได้ที่ Robot Framework ครับ