Category Archives: เขียนโปรแกรม - Page 5

PHP: การใช้งานฟังก์ชัน array_shift

การใช้งานฟังก์ชัน array_shift เป็นการดึงเอาค่าแรกของ array ออกมาจาก array ในกรณีที่ index ของ array เป็นตัวเลข index ของค่าใน array ที่เหลือจะถูกรีเซตค่าให้เริ่มต้นที่ 0 ส่วน index ที่ไม่เป็นตัวเลขก็จะยังอยู่เหมือนเดิม

การติดตั้ง Robot Framework และการใช้งานเบื้องต้น

Robot framework เป็นซอฟแวร์ Open source สำหรับการทำ Acceptance Testing และ ATDD (Acceptance Test-Driven Development) โดย syntax ที่ใช้จะเหมือนกับภาษาเขียนธรรมดาเลยแหล่มมาก แต่ที่สำคัญหน่อยก็คงจะเป็นแต่ละคำสั่งหรือคีย์เวิร์ดจะต้องห่างกัน 4 space

Grunt Watch กับ Grunt PHPUnit มารัน PHPUnit อัตโนมัติดีกว่า

ใครที่กำลังหัดตั้งไข่กับการพัฒนาซอฟแวร์แบบ TDD (Test-Driven Development) สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำอยู่บ่อยมากๆ ก็คือการรันคำสั่ง phpunit นั่นเองบ่อยแค่ไหนหน่ะเหรอ  หึหึ  ก็ทุกครั้งที่มีการแก้ไขหรือสร้างไฟล์ก็ว่าได้ ในเมื่อเราต้องทำมันตลอดอยู่แล้วทำไมไม่หาวิธีที่มันง่ายๆ ล่ะให้มันรันอัตโนมัติตอนที่เราบันทึกไฟล์เป็นไง ^^

Git hook สั่งให้ Jenkins ทำงานหลัง git push ไปที่ Git Server

การใช้ git hook (post-receive) สั่งงาน Jenkins (build Project) โดยคำสั่งใน post-receive จะทำงานหลังจากที่เรามีการใช้คำสั่ง git push ดังนั้นหากเราต้องการจะทำอะไรหลังจาก push โค้ดเสร็จ เราก็สามารถไปเพิ่มคำสั่งไว้ในไฟล์ hooks/post-receive ได้เลย

ดึง thumbnail ของโพสต์ใน wordpress มาแสดงบนเฟสบุ๊กตอนกดแชร์ลิงค์

วันนี้นั่งๆ ดู facebook page ของบล็อกรู้สึกว่าต้องมีการปรับปรุงรูปที่ดึงมาแสดงตอนกดแชร์ลิงค์ เพราะตอนนี้เลือกเอา logo ของบล็อกรูปเดียวเลย มองดูแล้วมันดูไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่ ก็เลยเปลี่ยนเป็นดึงเอา thumbnail มาแสดงดีกว่า หลากหลายดี ^^

เขียน javascript animation ด้วย requestAnimationFrame เพื่อประหยัดการใช้พลังงานของโลก!!

เห็นหัวข้อแล้วอาจจะคิดว่าไอ้นี่บ้าไปแล้วรึป่าว ฮ่าๆๆ ไม่บ้าก็ใกล้ล่ะครับ ^^ สำหรับเพื่อนๆ ที่ใช้ javascript ในการทำ animation หรือให้ทำงานเป็นลูปตามเวลาที่กำหนด ส่วนใหญ่แล้วอาจจะใช้ฟังก์ชัน setInterval() หรือ setTimeout() แต่สำหรับใครที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนต้องหันมาใช้ requestAnimationFrame กันครับ ^^

Upgrade WordPress ที่ localhost ทำไมต้องใช้ FTP กด Update Now ไปเลยง่ายกว่าไหม!!

สำหรับสาวก WordPress คงชินแล้วกับการอัพเกรดเวอร์ชั่นบ่อยมาก (ถึงมากที่สุด ^^) ส่วนตัวแล้วผมก็เอาความสะดวกเข้าว่า ล็อกอิน แล้วก็คลิก Update Now เลย จริงๆ ก็มีข้อความเตือนนะว่าให้ Backup ข้อมูลก่อน ^^ นี่เป็นการอัพเกรด WordPress ที่เครื่อง Production

CSS Font-Size: ทำไมต้องเป็น font-size: 62.5%

“Ems” (em) เป็นหน่วยที่ใช้เทียบกับขนาด font-size ของ body หรือถ้าไม่มีการกำหนด font-size ให้กับ body ก็จะเป็นค่าเริ่มต้น (16px) และสามารถย่อหรือขยายได้ (scalable) เช่น เราใช้ body {font-size: 12px} แสดงว่าถ้าเรากำหนด font-size เป็น 1em = 12px ดังนั้นถ้าเรากำหนด font-size เป็น 2em ก็จะเท่ากับ 24px หรือ .5em ก็ควรจะเท่ากับ 6px ครับ

ทำความเข้าใจ async และ defer กับการโหลด javascript

ทุกวันนี้ถึงแม้จะมี HTML5 ที่มาพร้อมกับ CSS3 ที่ทำให้การพัฒนาเว็บเว็บไซต์ลดการใช้ javascript ลงได้ในบ้างจุด แต่ในบ้างฟังก์ชัน หรือลูกเล่นบางอย่างก็ยังต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ javascript อยู่ และแน่นอนว่า เว็บไซต์ที่มีการใช้งาน javascript เยอะๆ จะต้องมีการพิจารณาลึกลงไปจนถึงโครงสร้างในการวาง javascript และ CSS และการเรียงลำดับในการโหลด resource ต่างๆ

Error & Logging ใน Laravel

ค่าเริ่มต้น (default) ของการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ Error จะถูกเปิดใช้งานไว้อยู่แล้ว เพื่อนๆ ที่เคยใช้ Laravel ก็อาจจะเคยเห็นอยู่บ้าง ^^ แน่นอนว่าตอนที่เรากำลังพัฒนาเว็บของเราก็จะต้องเปิดไว้อยู่แล้ว (เอาให้เห็นกันไปเลยว่า error  อะไร) แต่ถ้าจะเอาขึ้น production ก็แนะนำให้ปิดไว้จะดีกว่านะครับ โดยเข้าไปแก้ไขค่า debug ในไฟล์ /app/config/app.php จาก true เป็น false ครับ