Category Archives: เขียนโปรแกรม - Page 2

แนะนำหมวดหมู่ (Category suggestion) ด้วย Percolate Query ของ Elasticsearch

บทความนี้เราจะมาลองสร้าง category suggestion ด้วย percolate query ของ Elasticsearch กัน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับ percolate query ก่อนว่ามันทำงานยังไงนะครับ ปกติแล้วเราจะเก็บข้อมูลของสินค้าหรือบทความของเราไว้ที่ Elasticsearch แล้วค้นหาสินค้าหรือบทความนั้นๆ ด้วยการสร้าง query ขึ้นมาจากคำค้นหาที่เราต้องการ

วิธีแก้ปัญหาคอมเม้นท์ของ Facebook Comments Plugin ไม่แสดง เมื่อเปลี่ยนจาก HTTP เป็น HTTPS

สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนจาก HTTP เป็น HTTPS ก็เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้เว็บไซต์ของเรา รวมถึงเครื่องมือค้นหาหรือ search engine เจ้าใหญ่อย่าง Google ได้ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่เป็น HTTPS มากขึ้นในการจัดอันดับผลการค้นหา

การสร้าง Custom Analyzer ของ Elasticsearch

เราได้พูดถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการเลือกใช้งาน Elasticsearch Analyzer กันแล้วในบทความที่แล้ว ซึ่งทางทีมพัฒนาของ Elasticsearch ก็ได้สร้าง Analyzer มาให้เราได้เลือกใช้มากมายเลยทีเดียว หรือถ้าเกิด Analyzer ที่เตรียมไว้ให้ยังไม่โดนใจ Elasticsearch ก็ยังมีความยืดหยุ่นมากพอให้เราสามารถสร้าง Analyzer ขึ้นมาใช้เองได้บทความนี้เราจะมาพูดถึงโครงสร้างและวิธีการสร้าง Analyzer ขึ้นมาใช้เองกัน

Elasticsearch เลือก analyzer ผิดชีวิตเปลี่ยนนะจ๊ะ

ในบทความนี้จะมาคุยกันเกี่ยวกับ analyzer ใน Elasticsearch กัน แต่ไม่ขอลงลึกมากนะเดี๋ยวจะไม่สนุกกัน ^^ เจ้า analyzer มีหน้าในการวิเคราะห์ (แหนะเล่นกันตรงๆ เลย) ประโยคหรือกลุ่มคำที่ถูกส่งเข้าไปหามันทั้งตอนที่เรา index ข้อมูลและตอนที่เราค้นหาข้อมูล เพื่อแบ่งให้เป็นคำๆ เช่น “This is a Elasticsearch Book” ก็อาจจะกลายเป็น “elasticsearch, book” ซึ่งจะกลายเป็นคำยังไงบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับ analyzer แต่ละตัว

ลองใช้งาน Docker Compose กับ WordPress

ไม่ได้เขียนบทความซะนาน กลับมาเขียนๆ ไว้ซักหน่อยดีกว่า บทความนี้จะเป็นการใช้งาน Docker Compose เพื่อติดตั้ง WordPress ใครที่ใช้ Docker อยู่แล้วก็คงรู้แล้วว่า Docker นั้น ช่วยให้เราจัดการอะไรหลายๆ อย่างได้สะดวยขึ้น ตัวอย่างก็คือ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมลงบนเครื่องโดยตรง เล่นเสร็จก็ลบ container ไม่มีอะไรมากินพื้นที่อันนี้นิดของเรา (ของผมยังเป็น SSD 128G ก็เลยต้องประหยัดๆ หน่อย ^^)

ลบแท็ก LI ออกจากเมนูที่ได้จากฟังก์ชัน wp_nav_menu ของเวิร์ดเพรส

สำหรับเพื่อนๆ ทั้งที่เคยใช้และไม่เคยใช้ฟังก์ชัน wp_nav_menu เห็นหัวข้อแล้วก็ไม่ต้องตกใจนะครับ ไม่ใช่ว่าของเค้าทำมาไม่ดีนะครับ ออกตัวไว้ก่อน ^^ เทคนิคนี้เอาไว้ประยุกต์ใช้ในบางโอกาศที่เราไม่ต้องการแท็ก LI แต่อยากได้ความสามารถในการแก้ไขเมนูจากหลังบ้านได้เอง โดยไม่ต้องฝังลิงค์ (hard code) ไว้ในธีม และแน่นอนว่ามันจะอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้เราด้วย

คุณไม่มีสิทธิ์เข้าถึงหน้านี้ (You Do Not Have Sufficient Permissions To Access This Page.)

สำหรับการนักพัฒนาธีมของ WordPress น่าจะรู้ดีว่า การที่เราสร้างธีมให้มีความยืดหยุ่นนั้น ย่อมเพิ่มความสะดวกในการทำงานให้กับผู้ที่นำเอาไปใช้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องเพิ่มหน้าการตั้งค่าต่างๆ ให้กับธีมของเราด้วย

ลูกเล่นสำหรับกล่องค้นหาของเว็บไซต์

มาอัพเดทกันซักหน่อย มีลูกเล่นเกี่ยวกับช่องค้นหา (input text) ไม่รู้ว่าจะเรียกว่ายังไงให้เข้าใจกันง่ายๆ เอาเป็นช่องค้นหาก็แล้วกันครับ ปกติผู้ใช้ก็จะพิมพ์คำที่ต้องการค้นหา แล้วก็กด Enter ป๊าบ ก็เรียบร้อย แต่ถ้าเพิ่มคำค้นเป็นสองสามคำ ก็เคาะ spacebar เว้นวรรคไปแบบเรียบๆ เดี๋ยวเรามาเพิ่มลูกเล่นให้กับช่องค้นหาของเรานิดนึง ^^

ทำความรู้จัก Custom Post Type ของ WordPress

เวิร์ดเพรส (WordPress) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ที่มีความยืดหยุ่นสำหรับเหล่านักพัฒนาเป็นอย่างมาก ปกติแล้วเวิร์ดเพรสมี post_type ในการจัดการเรื่องการแสดงผล เมื่อเราติดตั้งเวิร์ดเพรสเราจะมี post_type ที่เราสามารถใช้งานได้เลย

เพิ่มลูกเล่นให้กับเมนูบาร์ด้านบนของ imooh.com

วันนี้มาแบ่งปันการเพิ่มลูกเล่นให้กับเมนูด้านบนของเว็บกัน ^^ จริงๆ แล้วก็ชอบเป็นการส่วนตัวด้วยแหละ เพราะถ้าเราใช้ position: fixed ให้มันอยู่ด้านบนเลยแล้วมันดูขัดๆ ตา ก็อย่างว่าชอบใครชอบมันเนาะ เผื่อมีเพือนๆ ชอบเหมือนกัน